เกี่ยวกับ อบต.

ประวัติความเป็นมาตำบลวังเย็น

 

ในสมัยรัชกาลที่  6  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จมาประพาสและทรงพักที่ริมน้ำ
ซึ่งได้ทรงตรัสว่าสถานที่แห่งนี้มีแม่น้ำลำคลองที่เย็นสดชื่นเพราะแม่น้ำลำคลองเต็มตลิ่ง พระองค์จึง
ตรัสให้สถานที่แห่งนี้ชื่อว่าวังน้ำเย็น มาได้สร้างวัดขึ้นภายในบริเวณนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดวังเย็น

วิสัยทัศน์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลวังเย็น

“ สังคมน่าอยู่  เคียงคู่คุณธรรม  เลิศล้ำการศึกษา  ประชาชนมีส่วนร่วม  ล้วนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ”


พันธกิจการพัฒนาท้องถิ่น

1. ส่งเสริมคุณภาพชี่วิต และการศึกษาของประชาชนให้มีคุณภาพอย่างคลอบคลุม

2. สนับสนุนและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในการประกอบอาชีพของประชาชน

3. จัดให้มีบริการสาธารณะ โครงสร้างพื้นฐาน ท่ีมีความจำเป็นและให้มีความน่าอยู่

4. มีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5. ส่งเสริมการพัฒนาสังคม ชุมชน วัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่สำคัญ

6. พัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐที่ดี และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนตามหลักธรรมาภิบาล

7. เน้นการมีส่วนร่วมในทุกระดับเพื่อนำไปสู่ท้องถิ่นที่มีความเจริญอย่างยั่นยืน

จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา

1. ประชาชนมีระดับคุณภาพชีวิต และการศึกษาท่ีดีและสูงขึ้น

2. ประชาชนมีรายได้เพ่ิ่มขึ้น พอเพียง พึ่งตนเองได้ในสังคม

3. ประชาชนได้รับบริการสาธารณะอย่างสะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง

4. สังคม ชุมชน น่าอยู่ มีความปลอดภัยและปราศจากอบายมุข

5. สิ่งแวดล้อมชุมชนดีน่าอยู่

6. มีการบริหารจัดการภาครัฐที่เป็นระบบโดยประชาชนมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่

 

ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม -
หมู่ที่ 1 บ้านวังเย็นนอก 106 206 215 421 คน
หมู่ที่ 2 บ้านวังเย็นใน 64 114 137 251 คน
หมู่ที่ 3 บ้านไผ่แหลม 92 178 240 418 คน
หมู่ที่ 4 บ้านไร่ต้นสำโรง 234 447 440 887 คน
หมู่ที่ 5 บ้านลำน้ำโจน 157 338 363 701 คน
หมู่ที่ 6 บ้านคันไผ่ 155 280 284 564 คน
ข้อมูลรวม : คน


สภาพทั่วไป ตำบลวังเย็น

          องค์การบริหารส่วนตำบลวังเย็น  เป็นตำบลหนึ่งใน  24  ตำบลของอำเภอเมืองนครปฐมอยู่ทางทิศตะวันตกของ
อำเภอเมืองนครปฐมห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองนครปฐม ประมาณ 11 กิโลเมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัด 6 กิโลเมตร
มีเนื้อที่โดยประมาณ 3.436  ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม ประชากรมีอาชีพทำนาทำสวนผัก
มีคลองธรรมชาติมีคลองท่าผา – บางแก้วไหลผ่าน  ซึ่งในอดีตเคยใช้เป็นเส้นทางสัญจรไปมา  อีกทั้งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ
ที่อุดมสมบูรณ์   นอกจากนี้ยังมีคลองชลประทานผ่านในพื้นที่หมู่ที่  3  และ 4  ปัจจุบันความเจริญเกิดขึ้นที่ริมถนน ทำให้
เส้นทางสัญจรทางน้ำซบเซาลงไปมาก   ที่เหลืออยู่อย่างเดิมคือ ชาวนา  ชาวสวน  วัดวาอาราม เท่านั้น สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ คือ
โรงงานต่าง ๆ  ที่อาจทำให้เกิดมลภาวะทางแม่น้ำลำคลองเน่าเสีย  ในฤดูแล้งชาวบ้านใช้น้ำทำการเกษตรกรรมไม่ได้ เกิดผล
กระทบต่อการปลูกพืช ซ้ำยังมีผักตบชวาลอยอยู่เต็มลำคลองในบางฤดู  ลำบากแก่ประชาชนริมน้ำที่จำเป็นต้องใช้น้ำในการ
อุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม

          ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้เพื่อการเกษตรกรรมคือ ปลูกข้าวปลูกพืชไร่ตามฤดูกาล ในด้านปศุสัตว์มีการเลี้ยงโค สุกร ไก่ฯลฯ
ซึ่งเป็นที่นิยมเลี้ยงของชาวบ้านเพื่อขายส่งในประเทศ   ในด้านการถือครองที่ดินส่วนใหญ่ชาวบ้านเป็นเจ้าของที่ดินทำกินเอง
เนื่องจากตำบลวังเย็นเป็นตำบลที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง   ดังนั้นชาวบ้านจึงสามารถดำรงชีวิตโดยการทำผลผลิตทางการเกษตร
ออกไปขายในตลาด

          บ้านเรือนที่พักอาศัยส่วนใหญ่จะเป็นการปลูกในที่ดินทำกินของตนเอง  ซึ่งสะดวกในการดูแลรักษาจากการที่ปลูกในที่ของ
ตนเองจึงทำให้บ้านแต่ละหลังอยู่กระจัดกระจาย  ยกเว้นบางแห่งที่เป็นร้านค้าจะเป็นแหล่งชุมชน

          การสัญจรและการคมนาคมภายในชุมชนเป็นถนนลาดยาง   บางแห่งเป็นถนนลูกรัง  แม้จะไม่ใหญ่นักแต่การสัญจรก็เป็นไป
อย่างสะดวกทั้งรถจักรยานยนต์และรถยนต์

             

 

องค์การบริหารส่วนตำบลวังเย็น  ได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อปีพ.ศ. 2539
มี สำนักงานเลขที่  9/1  หมู่ที่  6   บ้านคันไผ่   ตำบลวังเย็น   อำเภอเมือง   จังหวัดนครปฐม

อาณาเขตและเขตการปกครอง

ทิศเหนือ          ติดต่อกับเขต     ตำบลลำพยา   อำเภอเมือง   จังหวัดนครปฐม

ทิศใต้              ติดต่อกับเขต     ตำบลบางแพ   จังหวัดราชบุรี

ทิศตะวันออก     ติดต่อกับเขต               ตำบลบางแขม   อำเภอเมือง   จังหวัดนครปฐม

ทิศตะวันตก      ติดต่อกับเขต    ตำบลหนองดินแดง   อำเภอเมือง   จังหวัดนครปฐม



สภาพทางเศรษฐกิจ

1.  อาชีพ

 

ที่

                  อาชีพ

จำนวน

ร้อยละ

1

เกษตรกร

73

11.85

2

ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ

55

8.93

3

พนักงานหน่วยงานเอกชน

50

8.12

4

ธุรกิจส่วนตัว

32

5.19

5

รับจ้างทั่วไป

242

39.28

6

ค้าขาย

75

12.18

7

อื่นๆ

89

14.45

 

รวม

616

100

 

 

2. รายได้

(ตามข้อมูล จปฐ. ปี 2556)

ที่

ระดับรายได้เฉลี่ย ต่อปี

จำนวน(ครัวเรือน)

ร้อยละ

1

ต่ำกว่า  23,000 บาท  ต่อปี

-

-

2

มากกว่า  23,000 บาท  ต่อปี

569

100%

 

รวม

569

100%

 

 

3. หน่วยธุรกิจในเขต อบต.

ฟาร์มเลี้ยงสัตว์                                3        แห่ง

โรงเพาะเห็ด                                   7        แห่ง

บริษัทประกอบกิจการสนามกอล์ฟ           1        แห่ง

บริษัทผลิตเครื่องดื่มชูกำลัง                   1        แห่ง

โรงหล่อพระ                                   1        แห่ง

โรงทำไม้กรอบรูป                             1        แห่ง

โรงตีเหล็ก                                     1        แห่ง

โรงผลิตน้ำดื่ม                                 1        แห่ง

ห้างหุ้นส่วนจำกัดประกอบกิจการเสื้อผ้า     1        แห่ง

โรงผลิตเส้นขนมจีน                           1        แห่ง

อู่ซ่อมรถจักรยานยนตร์                       1        แห่ง

ร้านค้า/ร้านอาหาร/ร้านขายของชำ         16      แห่ง

 

4. การผลิต

 

- กลุ่มเกษตรผลิตผักกระเฉด , ผักสวนครัวประเภทอื่นๆ

- กลุ่มเกษตรผู้เลี้ยงปลา ,ไก่  และสุกร

- ฟาร์มขนาดใหญ่ (เบทาโกร)  ผลิตไก่เนื้อและสุกร ส่งออกและบริโภคในประเทศ

    สังคม

ชาวบ้านสามารถที่จะพึ่งพาธรรมชาติ  หาผักหาปลากินได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ  และมีการปลูกพืชผักสวนครัวกินกันเองได้ 

สภาพทั่วไปทางสังคมมีลักษณะเป็นสังคมเครือญาติ  สมาชิกของชุมชนต่างรู้จักกันอย่างดี

 




 

1.  ข้อมูลด้านการศึกษา

                                                    (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2556)

ที่

สถานบริการด้านการศึกษา

จำนวน

แห่ง

ครู

นักเรียน

1

    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

1

2

32

2

โรงเรียนระดับประถมศึกษา

2

17

220

3

ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน

1

1

30

 

รวม

4

20

282

                  





โรงเรียนระดับประถมศึกษาในเขตตำบล  มี 2 แห่ง คือ

          1. โรงเรียนวัดวังเย็น                    ตั้งอยู่หมู่ที่  5   บ้านลำล้ำโจน

          2. โรงเรียนบ้านไร่ต้นสำโรง         ตั้งอยู่หมู่ที่  4   บ้านไร่ต้นสำโรง     

2.  ข้อมูลด้านการศาสนา

                   - ศาสนาสถานทางพุทธศาสนา(วัดวังเย็น)                      จำนวน  1   แห่ง

          

 

 

ข้อมูลด้านการสาธารณสุข

- สถานบริการสาธารณสุข                                       จำนวน   1   แห่ง

  (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังเย็น)



 

   ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

                   -  ที่พักสายตรวจวังเย็น                                          จำนวน  1    แห่ง

                   -  ศูนย์ อปพร.อบต.วังเย็น                                      จำนวน   1   แห่ง

 

การบริการพื้นฐาน

1. การคมนาคม         

 

                   การคมนาคมของตำบลวังเย็น  เป็นการคมนาคมทางบกมีถนนเพชรเกษมเป็นถนนสายหลักในการติดต่อและมีถนนโครงข่าย  โดยถนนส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและถนนหินคลุกลูกรัง

                   การคมนาคมในเขตตำบลใช้รถจักรยานยนต์และรถยนต์เป็นส่วนใหญ่

                   การบริการรถโดยสารประจำทางที่ใช้ติดต่อกับเขตอำเภอเมืองนครปฐม ได้แก่           

รถสายวังเย็น- นครปฐม

 

2. การโทรคมนาคม            

- ตู้โทรศัพท์สาธารณะประจำหมู่บ้าน                 จำนวน  6    ตู้

 

3. การไฟฟ้า

                   - พื้นที่ในเขตตำบลวังเย็น มีไฟฟ้าเข้าถึงให้บริการครบทุกหมู่บ้าน

 

4. สาธารณูปโภค

                   1.แหล่งน้ำธรรมชาติ

                   -คลองท่าผา-บางแก้ว                                  จำนวน  1    แห่ง

                   -คลองสามสาม                                            จำนวน  1     แห่ง

 

  การสื่อสาร

                   ประชาชนในตำบลวังเย็นส่วนใหญ่ใช้ในการสื่อสารทางโทรศัพท์ และการออกไปติดต่อกับทางส่วนราชการด้วยตนเองเป็นสำคัญ